ตรวจ OPD น่าเบื่อจริงหรือ

จะว่าไปแล้วน้องคงเคยได้ยินคำกล่าวนี้มาบ้างว่า หมอชุมชนไม่เห็นมีอะไรเลย วันๆก็เอาแต่ตรวจ OPD ไป มีแต่ case URI, Diarrhea. น่าเบื่อออกจะตายไป งานหลักของหมอที่อยู่ในโรงพยาบาลชุมชนอย่างหนึ่งก็คือ การออกตรวจคนไข้ OPD หรือการตรวจผู้ป่วยนอก เวลาส่วนใหญ่น้องจะใช้ไปกับการตรวจคนไข้ทั้งเช้าและบ่ายที่ OPD อาจจะมีบางครั้งต้องไป Round Ward บ้าง ไปดูห้องคลอดบ้าง แต่น้องจะใช้เวลาไปที่ OPD มากที่สุด ดังนั้นถ้าน้องไม่มีความสุขกับการตรวจคนไข้ที่ OPD แล้ว ก็จะส่งผลให้น้องเบื่อการทำงานในรพช.ในที่สุด

คนไข้ OPD ส่วนใหญ่ในรพช. จะมีค่อนข้างมาก เพราะการสาธารณสุขยังไปไม่ทั่วถึง และหมอมีน้อย จึงไม่น่าแปลกที่น้องจะได้ยินการบ่นว่าคนไข้ล้น OPD เป็นประจำในโรงพยาบาลจำนวนมากในชนบท OPD ในโรงพยาบาลชุมชน จะเป็น OPD รวมนั่นคือ ไม่มีการแยกประเภทของคนไข้ไปตามแผนกต่างๆในเหมือนเช่นในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หรือในโรงเรียนแพทย์ ดังนั้น คนไข้ที่เข้ามาตรวจกับน้องจะมีทุกประเภท ทั้งสูติ ศัลย์ Med เด็ก คละๆกันไป บางทีอาจจะมี Case Eye, ENT หรือมี case . . . → Read More: ตรวจ OPD น่าเบื่อจริงหรือ

เรียนรู้ชาวบ้านยามออกหน่วย

เมื่อน้องมาอยู่รพช.ใหม่ๆ บางครั้งคงเคยได้ยินพี่ๆพูดกันเรื่องการออกหน่วยประจำเดือน ว่าออกที่ไหนเมื่อไร การออกหน่วยเป็นคำที่รู้กันในหมู่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ซึ่งหมายถึงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปรักษาพยาบาลประชาชนในที่ห่างไกล โดยปกติแล้วโรงพยาบาลเราจะได้รับมอบหมายให้ออกหน่วยประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งชื่อของหน่วยจะมีหลายอย่างแล้วแต่หน่วยงานต้นสังกัด เช่นหน่วย พอ.สว. หน่วยนสค. หน่วยของอำเภอ หน่วยอาสาสมัคร ฯลฯ ซึ่งคงต้องค่อยๆเรียนรู้กันว่าแต่ละหน่วยคืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร แต่โดยรวมๆแล้วลักษณะจะเหมือนกันทุกหน่วย  คือทางโรงพยาบาลต้องจัดหาเจ้าหน้าที่บุคคลากร โดยทั่วไปจะมีแพทย์ 1 คน พยาบาล2-3คน เภสัช1คน ทันตแพทย์หรือทันตาภิบาล 1 คน และต้องมียาและเวชภัณฑ์เตรียมไปจ่ายแจกให้ชาวบ้าน

ถ้าน้องยังไม่เคยไปออกหน่วยเลย แต่ได้รับมอบหมายให้ไปออกหน่วย น้องควรจะถามพี่ๆที่ไปด้วยหรือพี่ๆหมอก่อน อย่างน้อยๆควรจะรู้ว่าไปออกหน่วยที่ไหน ไปไกลไหม นั่งรถอะไรไป ออกจากโรงพยาบาลกี่โมง มียาอะไรไปบ้าง กลับกี่โมง เรื่องอาหารการกิน ถ้าน้องเคยได้ไปออกสักครั้งแล้ว คงจะได้ Idea มากเลย ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรจะต้องรู้ไว้ก่อนออกหน่วย พี่จะยกตัวอย่างให้ฟังนะ

สถานที่ออกหน่วย เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะน้องจะได้เตรียมตัวเตรียมใจก่อน เพราะบางหน่วย เราต้องไปออกในสถานที่ทุรกันดารมาก ทางรถไปเป็นหลุมเป็นบ่อตลอด อาจจะต้องนั่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อไป โดยต้องนั่งโยกเยกไปตลอดทางก็มี น่าจะถามดูว่าใช้เวลาเดินทางกี่ชม. ถนนเป็นอย่างไร หรือบางที่อาจจะต้องนั่งเรือไปก็มี การไปออกหน่วยในสภาพพื้นที่จริงจะทำให้เราเข้าใจถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านจริงๆว่า อยู่กันอย่างไร ทำงานอะไร การคมนาคมลำบากไหม . . . → Read More: เรียนรู้ชาวบ้านยามออกหน่วย

“หนังสือ” ที่พึ่งยามยาก

 หลายต่อหลายคนอาจนึกถึงหนังสือ ตำรับตำราต่างๆที่เคยร่ำเรียนมาเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาบางอย่าง น้องๆหลายคนเมื่อเจอปัญหาบางอย่างที่ไม่แน่ใจ แต่น้องก็ฉุกคิดได้ว่ามีเรื่องนี้เขียนไว้ในหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ แล้วก็สามารถไปเปิดหนังสือดูได้ น้องๆคงรู้สึกโล่งใจมาก สมองคนเราไม่สามารถบรรจุเรื่องราวต่างๆไว้ได้ทุกเรื่อง ทุกๆคนจะต้องมีการลืมบ้างเป็นธรรมดา แต่ความรู้ที่ว่าปัญหาอะไรสามารถเปิดค้นหาได้จากหนังสือเล่มไหน นับว่าเป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับหมอในโรงพยาบาลชุมชน ยังเคยมีคนกล่าวไว้ว่า ความรู้มีอยู่ 2 อย่างที่สำคัญคือ รู้จริงๆ และรู้ว่าควรจะหาความรู้ได้ที่ไหน

แม้แต่อัจฉริยะอย่างไอนสไตน์ยังยกย่องความรู้ชนิดนี้ไว้ มีเรื่องเล่ากันว่า มีคนลองภูมิไอนสไตน์ดูซิว่าจะรอบรู้ทุกอย่างจริงหรือไม่ เลยถามคำถามขึ้นว่า คุณรู้ไหมว่าภูเขาไฟฟูจิสูงเท่าไร ไอนสไตน์กลับตอบว่า ทำไมฉันต้องไปสนใจด้วยล่ะว่ามันสูงแค่ไหน ฉันรู้เพียงแค่ ถ้าฉันอยากรู้ว่ามันสูงเท่าไร ฉันจะหาความรู้นี้ได้ที่ไหน ก็พอแล้วนี่

อย่าลืมนะครับว่า หนังสือเป็นเพื่อนที่ดีมากของเรา มันไม่มีการดูถูกน้องๆว่าเรื่องแค่นี้ก็ไม่รู้ สามารถเปิดแอบดูได้เงียบๆ ไม่มีใครรู้ว่าน้องไม่รู้เรื่องอะไร มันเป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์มาก แต่ต้องระวังนะ น้องไม่สามารถพกหนังสือ Text เล่มโตๆ ไปได้ทุกที่แน่นอน และอีกอย่างหนึ่งการคบเพื่อนเช่นนี้ อาจทำให้ภาพพจน์ความเป็นหมอของน้องด้อยลงไปได้ ทำให้มาดไม่ดีนั่นเอง ลองคิดดูก็ได้ ถ้าวันไหนน้องมาออกตรวจ OPD น้องพกหนังสือเดินมาจากบ้านพักตั้งหลายเล่ม ว่าแล้วเวลามี case น้องก็เปิดเอาๆ การเปิดหนังสือบ่อยๆหรือไม่ถูกกาละเทศะ จะทำให้มาดน้องเสียลงไป ทั้งจากสายตาคนไข้และสายตาเพื่อนร่วมงาน “มาด” เป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในโรงพยาบาลชุมชน การเปิดหนังสือบางครั้งต้องมีเทคนิคเหมือนกัน ว่าทำอย่างไรไม่ให้น่าเกลียด เช่นแอบไปเปิดในห้องพักแพทย์ หรือเปิดจากโน้ตย่อสั้นๆก็ได้

เรื่องโน้ตย่อก็เป็นสิ่งสำคัญ น้องๆคงจำสมุดเล็กๆที่น้องใช้จดเวลาตาม . . . → Read More: “หนังสือ” ที่พึ่งยามยาก