เงินเดือนและค่าตอบแทนของแพทย์

     เรื่องเงินทองแม้ว่าจะเป็นเพียงของนอกกาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เวลาน้องเลือกมาใช้ทุน เงินเดือนก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่หลายๆคนให้ความสำคัญ เนื่องจากหมอก็เป็นประชาชนธรรมดา ย่อมต้องการเงินในการทำมาหากิน ใช้สอยต่างๆ บางคนก็มีครอบครัวต้องดูแล เงินเดือนที่แตกต่างกันนั้นย่อมมีความหมายแน่นอนเพราะต้องมาทำงานในรพช.ถึง 2 ปี เงินค่าตอบแทนที่น้องจะได้รับแบ่งเป็นประเภทต่างๆคือ

         1 เงินเดือน ได้รับตามระดับซี และ ขั้นเงินเดือน ซึ่งน้องจะได้เงินเดือนเท่ากับ 8190 บาทต่อเดือน ซึ่งอาจจะถูกหักเล็กน้อยเพื่อไปเข้ากองทุนกบข. หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งน้องจะได้คืน ถ้าน้องพ้นจากการเป็นข้าราชการ

        2 เงินค่าตอบแทนไม่ทำเวชปฏิบัติเอกชน หรือเรียกง่ายๆว่าเงินไม่ทำคลีนิค เป็นเงินเพิ่มพิเศษที่รัฐกำหนดให้แพทย์ที่ไม่ทำเอกชนหรือไม่เปิดคลีนิคส่วนตัว โดยจะได้รับเงินเป็นจำนวนหนึ่งหมื่นบาทต่อเดือน แต่ต้องมีเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 15 วันในแต่ละเดือน ดังนั้นในเดือนไหนที่มีวันหยุดราชการมากๆ น้องต้องระวังถ้าน้องลามากๆในเดือนดังกล่าวอีก อาจทำให้เวลาทำงานไม่ถึง 15 วันในเดือนนั้นก็ได้ น้องก็จะอดได้เงินหมื่นไปโดยปริยาย

         3 เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ หรือเรียกว่าเงินเวร เงินจำนวนนี้จะแตกต่างกันค่อนข้างมากในแต่ละโรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับขนาดโรงพยาบาล การแบ่งเวร และนโยบาลของโรงพยาบาล โดยส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กๆ จะมีแพทย์อยู่เวรวันละ 1 คน ซึ่งจะอยู่ทั้งเวรนอกและเวรใน คือรับดูทั้งคนไข้ใน Ward และคนไข้ ER โดยจะอยู่เวร On call . . . → Read More: เงินเดือนและค่าตอบแทนของแพทย์

หมอกับระเบียบราชการและการลา

  เมื่อน้องเป็นข้าราชการคนหนึ่ง น้องสมควรจะรู้เกี่ยวกับระเบียบของทางราชการไว้บ้างเพราะจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง อย่างที่รู้กันโดยทั่วกันว่า ระบบราชการเป็นระบบที่ใหญ่ ประกอบด้วยคน เอกสาร เครื่องไม้เครื่องมือจำนวนมาก ระเบียบก็ยิ่งยุ่งและยากมีขั้นตอนมาก ไม่คล่องตัวเหมือนพวกเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้องคนไหนได้เป็นถึงผู้บริหารของโรงพยาบาลจะยิ่งเข้าใจ สำหรับน้องที่เป็นแพทย์ประจำ ระเบียบง่ายๆที่ควรรู้ก็คือ ระเบียบการลาของข้าราชการ การได้รับเงินเดือน การลาไปอบรม เป็นต้น พี่จะพูดคร่าวๆให้น้องฟังพอเป็นความรู้สักนิดนะว่า                

ระเบียบการลาของข้าราชการนั้น มีการลาอยู่ทั้งหมด 9 ประเภท ซึ่งแตกต่างกัน โดยน้องสามารถลาได้ตามสิทธิที่น้องมี แต่ต้องเข้าใจไว้ก่อนนะครับว่า การใช้สิทธิการลาไม่ต้องใช้ให้ครบก็ได้ เรามีสิทธิที่จะลาได้ก็จริง แต่ถ้าเราไม่มีความจำเป็นเราก็ไม่ต้องลาให้ครบ ไม่ใช้ว่าน้องขี้เกียจทำงานขึ้นมา ก็ขอลากิจไปเที่ยวซะอย่างนั้น ถือว่าเป็นการไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ ข้าราชการจำนวนหนึ่งถือว่าฉันมีสิทธิฉันก็จะใช้สิทธิให้คุ้ม บุคคลประเภทนี้ ไม่ได้ทุ่มเทกายใจให้งานราชการของตัวเองเลย เป็นอย่างที่บุคคลภายนอกชอบว่าว่าข้าราชการมักจะเช้าชามเย็นชาม ทำให้ระบบราชการเสียหาย น่าเสียดายภาษีราษฎรที่ต้องนำมาจ่ายเป็นเงินเดือนของข้าราชการประเภทนี้จริงๆ น้องก็อย่าลืมนะครับว่า ตัวเองเป็นข้าราชการ เป็นข้าราชการหมายถึงเป็นข้าแผ่นดิน ต้องทำงานสนองคุณแผ่นดิน กินเงินเดือนภาษีราษฎร ควรจะตอบแทนโดยการทำงานในหน่วยงานตัวเองให้เต็มที่และโดยมีประสิทธิภาพที่สุด เอาละเข้าเรื่องกันซะที ย้อนกลับมาพูดเรื่องการลาใหม่ การลาดังที่กล่าวมาแล้ว แยกเป็น 9 ประเภท แต่ที่สำคัญและใช้บ่อยคือดังนี้คือ

การลาป่วย สามารถลาได้ปีละไม่เกิน 60 วัน โดยที่ลาติดต่อกันได้ไม่เกินครั้งละ 30 วัน . . . → Read More: หมอกับระเบียบราชการและการลา

ตำแหน่ง “นายแพทย์ 4” คืออะไร

ไม่รู้ว่าตอนน้องจบออกมาแล้วยังจะได้เป็นข้าราชการอยู่หรือเปล่า หรือจะได้เป็นพนักงานของรัฐ แพทย์โดยทั่วไปก่อนเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อจบออกมาแล้ว จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุข ในตำแหน่ง นายแพทย์ 4 ตัวเลข 4 นี้หมายถึงระดับหรือ ซี นั่นเอง สำหรับน้องๆที่ยังใหม่ต่อระบบราชการ พี่จะเล่าให้ฟังคร่าวๆเกี่ยวกับข้าราชการ ข้าราชการพลเรือนมีระดับขั้นตั้งแต่ ซี 1 ถึง ซี 11 ซึ่งแต่ละระดับก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน

ระดับสูงสุดของข้าราชการพลเรือนคือ ซี 11 จะเป็นระดับปลัดกระทรวง ปลัดทบวง ปลัดสำนักนายก ฯลฯ รองลงมาคือซี 10 จะเป็นระดับ อธิบดีกรมต่างๆ ผู้ว่าราชการจังหวัด ฯลฯ น้องจะได้รับบรรจุเป็น ซี 4 ซึ่งมีขั้นเงินเดือน 8,190 บาท คำว่าขั้นเงินเดือนน้องอาจจะงง แต่ถ้าน้องเคยเห็นบัญชีขั้นเงินเดือนอาจจะเข้าใจมากขึ้น คือในแต่ละซี จะมีขั้นเงินเดือนหลายๆขั้นเป็น 10 ขั้น เช่น ซี1มีขึ้นเงินเดือนต่ำสุดคือ 4,100 บาท สูงสุดคือ 7,260 บาท ซี 11 ขั้นต่ำสุดคือ 29,690บาท . . . → Read More: ตำแหน่ง “นายแพทย์ 4” คืออะไร