กฎและข้อคิดเล็กๆเตือนใจสำหรับแพทย์

เมื่อตอนผมเป็นนักศึกษาแพทย์ได้ซื้อหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่งชื่อว่า A little book of doctors’ rules ของ Dr. Clifton K. Meador หนังสือเล่มนี้ัได้บรรจุข้อคิด กฎ และข้อเตือนใจมากมายสำหรับแพทย์ ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าซื้อมาราคาเท่าไร คิดว่าน่าจะประมาณร้อยกว่าบาท แต่ผมจำได้ดีเลยว่าพอได้อ่านครั้งแรกก็ชอบมาก หลังจากนั้นผมได้เอามาพลิกอ่านอยู่บ่อยๆ เพราะหลายอย่างที่เขียนอยู่ในนั้นเตือนใจเราได้เป็นอย่างดี มีทั้งกฎ ข้อคิด ข้อเตือนใจ ทั้งในความจริงเกี่ยวกับโรค คนไข้ แพทย์ รวมไปถึงการทำงาน Process การคิดของแพทย์ จริยธรรม และคุณธรรมของแพทย์ ซึ่งทุกวันนี้ผมก็ยังเอามาอ่านอยู่บ่อยๆ

ลองดูตัวอย่างไหมครับ

Being a physician is a high priviledge. Do not abuse it.
Just because you know a lot of physiology, biochemistry, and anatomy doest not mean . . . → Read More: กฎและข้อคิดเล็กๆเตือนใจสำหรับแพทย์

แง่คิดจาก Textbook Harrison’s Principle of Internal Medicine

เชื่อว่าแพทย์หลายๆคนโดยเฉพาะอายุรแพทย์ส่วนใหญ่ จะไม่มีใครไม่รู้จักตำราแพทย์ ที่ถือว่าเป็น Standard textbook ของ Internal Medicine เล่มหนึ่งคือ Harrison’s Principle of Internal Medicine ตำราเล่มนี้ถูกพิมพ์มายาวนานมาก ตั้งแต่คศ. 1950 จนถึงในปัจจุบันก็เป็น edition ที่ 18 แล้ว

นักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านหลายคนเห็นขนาดหนังสือเล่มนี้แล้วก็ท้อ เพราะมีขนาดใหญ่มาก เป็นปกแข็ง 2 เล่ม ยิ่งไปกว่านั้นยังมีส่วนที่เป็น electronic chapter อีกต่างหาก นัยว่าถ้าพิมพ์ลงเป็นกระดาษทั้งหมดหนังสือจะมีขนาดใหญ่กว่านี้อีกมาก

มีหลายบทครับใน Harrison’s ที่อยากจะแนะนำให้อ่านมากๆ โดยเฉพาะในบทแรกๆ รวมถึงบทที่ว่าด้วย symptomatology ต่างๆ น่าอ่านมาก แต่วันนี้จะมีแนะนำให้อ่านบทที่ 1 ก่อน ซึ่งผมว่าเป็นบทที่สำคัญ และเขียนได้ดีมาก เกี่ยวกับเวชปฏิบัติของการเป็นแพทย์ ซึ่งมีเนื้อหารวมถึงจริยธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ และ professionalism ซึ่งมีหลายตอนที่ผมประทับใจครับ

จึงจะขอยกบางช่วง บางตอนมาให้ลองอ่านกันครับ

Physicians must never forget that patients . . . → Read More: แง่คิดจาก Textbook Harrison’s Principle of Internal Medicine

Role Model บทบาทที่ขาดไม่ได้ของอาจารย์แพทย์

มีคนกล่าวไว้ว่า ครูที่ดีย่อมไม่สั่งสอนศิษย์แต่เฉพาะเรื่องวิชาการที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น แต่ครูที่ดีจะต้องถ่ายทอดทั้งความรู้ ความดีงาม ศีลธรรม ตลอดจนประพฤติตัวให้แบบอย่างที่ดีให้กับศิษย์ด้วย ผมเห็นด้วย 100% เลยครับ โดยเฉพาะในการเรียนแพทย์

ลองนึกดูนะครับ นักศึกษาแพทย์ชั้นปี 4 ปี 5 เมื่อขึ้น Ward ใหม่ๆจะมีความเข้าใจในวิชาชีพแพทย์ได้อย่างไร ไม่มีทางเป็นไปได้เลยครับ ความเป็นแพทย์จะต้องถูกปลูกฝังทีละเล็กทีละน้อย โดยน้องๆจะต้องดูแบบอย่างจากพี่ๆ ทั้ง extern, resident, fellow รวมถึงอาจารย์แพทย์ด้วย น้องๆจะค่อยๆซึมซับความเป็นแพทย์ไปทีละน้อย เริ่มเรียนรู้ทักษะการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การสื่อสาร รวมทั้ง bedside manner และจรรยาแพทย์ต่างๆในขณะที่ขึ้น ward ซึ่ง 2 ประการหลังผมว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหรืออาจจะสำคัญกว่าความรู้ทางวิชาการด้วยซ้ำ

แพทย์ทุกคนคงเคยถูกสั่งสอนมาว่า แพทย์ที่ดีต้องมีจิตใจที่พร้อมจะเสียสละ ตั้งใจใช้ความรู้ความสามารถในการรักษาคนไข้อย่างเต็มที่ เอื้ออาทรคนไข้ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้เกียรติคนไข้ ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัว และอีกมากมาย ถ้าจะให้ list คุณสมบัติที่ดีของแพทย์คงสามารถ list ได้ยาวเป็นหน้ากระดาษ ผมเชื่อว่าทุกคนคงรู้ว่าแพทย์ที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร แต่เราจะทำอย่างไรจะปลูกฝังคุณสมบัติที่ดีเหล่านี้ไปให้แพทย์รุ่นหลังๆได้ล่ะครับ

ต่อให้เรา lecture เรื่องเหล่านี้ พูดแล้วพูดอีก ก็ยากที่ปลูกฝังคุณสมบัติที่ดีเหล่านั้นได้ ผมว่าสิ่งสำคัญที่สุด . . . → Read More: Role Model บทบาทที่ขาดไม่ได้ของอาจารย์แพทย์