ที่มาของ “บันทึกบางสิ่งบางอย่างในชีวิต”

ใครเคยเขียนบันทึกเรื่องราวบางสิ่งบางอย่างในชีวิตตัวเองบ้างเอ่ย ผมเชื่อว่าแทบทุกคนอย่างน้อยคงจะเคยเขียนบันทึกบ้าง อาจอยู่ในรูปไดอารี่ หรือบันทึกส่วนตัวอะไรก็ตามแต่ ผมเองก็เคยเขียนไดอารี่เหมือนกันตอนเด็กๆ เท่าที่จำได้เคยเขียนตอนอยู่ประถมและมัธยมต้น พอโตกว่านั้นก็ไม่ได้มีการเขียนเป็นเรื่องเป็นราว จะมีการบันทึกเรื่องราวบ้างก็เป็นเฉพาะในช่วงสำคัญๆ หรือมีประเด็นบางอย่างในชีวิตเท่านั้น เช่น ตอนที่ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญๆ หรือตอนที่มีความทุกข์อย่างมาก

ในช่วงเวลาดังกล่าว หลายคนจะระบายเรื่องราวที่คับข้องใจให้คนอื่นฟัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีครับ ถ้าเรามีคนรู้ใจ ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนฝูง ญาติ ซึ่งเขาเหล่านั้นจะเป็นกัลยาณมิตรช่วยเราได้ บางครั้งเขาแค่รับฟังเราพูดก็ช่วยเราได้มากที่เดียว หรือดีไปกว่านั้นเขาอาจจะเป็นที่ปรึกษาให้ข้อคิดหรือแนะนำสิ่งดีๆแก่เราได้

แต่สำหรับผมเวลามีปัญหาหนักอกหนักใจมากๆ ถ้าได้นั่งลงและเขียนเรื่องราวอะไรก็ได้ที่อยากเขียนออกมา อาจเป็นในรูปการคุยกับตัวเอง หรือเขียนประเด็นต่างๆที่คาอยู่ในใจทั้งหมดออก จะทำให้รู้สึกโล่ง บางครั้งอาจทำให้มองเห็นทางออกเลยทีเดียว และบันทึกที่เขียนเหล่านั้นเมื่อเวลาผ่านไปแล้วเราได้ย้อนกลับมาอ่านใหม่ จะรู้สึกดีมาก จะเห็นตัวเราในอดีตเลยครับ บางครั้งมองออกเลยขณะนั้นเรากำลังอยู่ในอารณ์แบบใด มีความรัก โลภ โกรธหรือหลงอยู่มากน้อยแค่ไหน หรือมัวแค่คลุกอยู่กับปัญหาซึ่งกำลังฝุ่นตลบอยู่ การอ่านย้อนหลังจะเป็นเครื่องเตือนใจหรือสอนใจเราได้ดีมาก

นอกจากเรื่องราวสำคัญๆในบางช่วงของชีวิตแล้วแล้ว อีกสิ่งที่ผมอยากจะบันทึกแต่ก็ไม่เคยได้บันทึกคือ เรื่องราวหรือประเด็นที่น่าสนใจบางอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งอาจเป็นความคิดที่แวบขึ้นมาเอง หรือเป็นข้อคิดที่ได้จากการอ่านหนังสือ หรือการได้พบกับสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ดีบ้าง สิ่งที่ไม่ดีบ้าง แต่เราก็ได้เรียนรู้อะไรต่างๆจากมันพอสมควร แม้ว่าเรื่องราวทุกอย่างจะผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านไป คงอยู่ได้ไม่นาน แต่การบันทึกจะช่วยทำให้เราเก็บภาพ เก็บความทรงจำ ความรู้สึก หรือความคิดในช่วงเวลานั้นๆได้  ซึ่งจะมีประโยชน์มากในอนาคตเมื่อเรากลับมาอ่านใหม่หรือระลึกถึงมัน

ผมเองเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมาก เรื่องราวชีวประวัติของบุคคลต่างๆก็อ่าน ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลสำคัญก็อ่านครับ เคยอ่านผ่านตาที่ไหนจำไม่ได้แล้วว่า การอ่านเรื่องราวต่างๆโดยเฉพาะข้อผิดพลาดของคนอื่นจะช่วยเราได้มาก เพราเราไม่มีเวลาจะพลาดเองได้ทุกเรื่อง อีกประโยชน์ที่ผมชอบมากคือ Experience is . . . → Read More: ที่มาของ “บันทึกบางสิ่งบางอย่างในชีวิต”

ข้อจำกัดของการแพทย์ (2)

มาว่ากันต่อนะครับ เรื่องไส้ติ่งอักเสบ ตามทฤษฎีนะครับ ตอนที่ไส้ติ่งเริ่มมีการอักเสบใหม่ๆผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดท้องตรงกลาง บริเวณรอบๆสะดือก่อน หลังจากนั้นอาการปวดท้องจะรุนแรงขึ้น แต่จะย้ายมาปวดที่ท้องน้อยข้างขวาแทน ผู้ป่วยจะปวดมากขึ้น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือมีไข้ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทีถูกต้องซึ่งก็คือการผ่าตัด ตัดไส้ติ่งที่อักเสบทิ้ง จะทำให้ระยะต่อมาไส้ติ่งจะแตก และมีหนอง,เชื้อโรคออกมาทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายมากได้

จะเห็นไหมครับว่าตามทฤษฎีแล้ว ตำราทางการแพทย์บอกไว้ชัดเลยว่าอาการจะเป็นอย่างไรบ้าง และตัวทฤษฎีนี้ในตำราทางการแพทย์แทบทุกเล่มจะเขียนไว้คล้ายๆกัน เมื่อคนไข้มาพบแพทย์ แพทย์ต้องทำการซักประวัติดูว่าอาการเข้าได้กับในตำราที่เขียนไว้หรือไม่ ซึ่งยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่หมอต้องคำนึงถึง เช่น อายุของคนไข้ เพศ โรคประจำตัว ฯลฯ นอกจากนี้แพทย์ต้องตรวจร่างกายดูว่ามีจุดกดเจ็บในตำแหน่งของไส้ติ่งหรือไม่ ซึ่งก็คือบริเวณท้องน้อยด้านขวา หรือภาษาแพทย์เรียนกว่า McBurney’s point ถ้าประวัติและอาการทุกอย่างเหมือน แพทย์อาจจะตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะเพื่อช่วยการวินิจฉัยและจึงตัดสินใจบอกคนไข้และนำคนไข้ไปสู่ห้องผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบไม่ยากและคนไข้สามารถกลับบ้านได้เร็ว

ดูๆไปก็ไม่น่าจะมีอะไรมากใช่ไหมครับ แต่สมมุติว่าแพทย์ผ่าตัดเปิดช่องท้องเข้าไปแล้วพบว่าไส้ติ่งดูปกติล่ะ ไม่มีการอักเสบแต่อย่างใด อะไรจะเกิดขึ้น หมออาจถูกร้องเรียนว่าวินิจฉัยผิดพลาด หมอทำไมไม่รู้ ทำให้ผู้ป่วยน่าสงสาร ถูกผ่าตัดฟรี อ่านแล้วรู้สึกเป็นอย่างไรบ้างครับ คนไข้น่าสงสาร น่าเห็นใจ แต่หมอล่ะครับมีใครเข้าใจหรือเห็นใจหรือไม่ อีกตัวอย่างครับ ถ้าคนไข้มาเพราะว่าปวดท้องมาได้ 3-4 ชม. แพทย์ตรวจดูแล้วบอกว่าไม่เป็นไร ไม่เหมือนไส้ติ่งอักเสบให้ดูอาการก่อน ถ้าไม่ดีค่อยมาหาใหม่ หลังจากนั้นคนไข้กลับบ้านไป และปวดท้องมากขึ้น กลับมาใหม่ หมอต้องผ่าตัดด่วน และพบว่าไส้ติ่งแตกแล้ว . . . → Read More: ข้อจำกัดของการแพทย์ (2)

ข้อจำกัดของการแพทย์ (1)

การที่จะอธิบายให้ใครสักคนเข้าใจข้อจำกัดต่างๆของวิชาชีพแพทย์นั้นเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการแพทย์และสาธารณสุขอาจมองด้วยความไม่เข้าใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องพูดกันยาวครับ มันเป็นที่มาอย่างหนึ่งของความไม่เข้าใจกันระหว่างแพทย์และคนไข้ซึ่งดูจะมีความไม่เข้าใจกันมากขึ้นทุกที

ในสมัยก่อนเรียนแพทย์ ผมมองว่าวิชาแพทย์นี้เป็นวิชาที่ดีจริงๆ สามารถช่วยเหลือคนไข้ได้ เรียนไปแล้วจะรู้ว่าคนไข้เป็นโรคอะไร และจะรักษาอย่างไร ใช้ยาแบบไหนถึงจะดีที่สุด ภาพหมอในอุดมคติจะเป็นหมอที่ให้การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง จ่ายยาหรือรักษาแล้วคนไข้ดีขึ้นทันตาเห็น ไม่มีโรคที่รักษาไม่ได้ ดูๆไปวิชาแพทย์ในอุดมคติเป็นเหมือนวิชาของเทวดาก็ไม่ปาน แต่พอเข้าเรียนแพทย์ เรียนไปเรียนไปก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นครับว่า การแพทย์เรานั้นมีข้อจำกัดอยู่มาก การแพทย์เราก้าวหน้าขึ้นก็จริง แต่มีอีกไม่น้อยเลยที่ต้องพูดว่าเราไม่รู้ เช่น ไม่รู้ว่าโรคนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ไม่รู้ว่าทำไมบางคนถึงมีอาการรุนแรง ไม่รู้ว่าทำไมบางคนถึงรักษาแล้วไม่ดีขึ้น ไม่รู้ว่าทำไมบางคนตอบสนองต่อยาไม่เหมือนคนอื่นๆ นอกจากความไม่รู้แล้ว วิชาแพทย์ยังมีความเป็นไปได้ที่จะคลาดเคลื่อนหรือไม่ตรงกับตำราสูง

เช่นตำราเขียนไว้ว่า คนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงจนทนไม่ได้และต้องมาโรงพยาบาล แต่ในความเป็นจริงมีคนไข้ไม่น้อยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโดยที่ไม่มีอาการเจ็บหน้าอกเลย บางคนอาจมาด้วยอาการปวดท้องแทน ทำให้วินิจฉัยได้ยาก ตัวอย่างแบบนี้มีอีกมากครับ อาจารย์แพทย์หลายคนถึงกับบอกว่าไม่มีอะไร 100% ใน medicine ซึ่งผมเห็นด้วยเลยครับ และอยากจะบอกด้วยว่าความไม่แน่นอนในวิชาชีพแพทย์เกิดจากเพราะเราเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่เครื่องจักร

ชีวิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ มีความลึกลับซับซ้อนมาก และใครก็สร้างเลียนแบบไม่ได้ ผมเคยพูดเล่นๆกับเพื่อนว่า ลองดูนะ มนุษย์เก่งแค่ไหนก็ตาม สามารถสร้างตึกสูงๆ สร้างเครื่องบินลำใหญ่ๆ สร้างยานอวกาศที่ออกไปนอกโลกได้ แต่ไม่สามารถสร้างใบไม้ขึ้นมาได้แม้แต่ใบเดียว และผมก็เชื่อว่ามนุษย์เราเข้าใจการทำงานของเครื่องบินลำใหญ่ๆมากกว่าจะเข้าใจใบไม้เพียงใบเดียว

มนุษย์เรายิ่งซับซ้อนกว่าใบไม้มากนัก เรายังไม่เข้าใจทั้งหมด และเมื่อมันเกิดอาการรวนขึ้นมาด้วยเหตุอะไรก็ตาม การเข้าไปหาสาเหตุรวมถึงการแก้ไขรักษาก็อาจไม่ง่ายนัก เช่นเมื่อคนเราปวดท้องขึ้นมา ก็เกิดได้จากสาเหตุต่างๆมากมาย แพทย์ต้องพยายามวินิจฉัยโรคว่าปวดท้องนั้นเกิดจากอะไร โดยใช้ข้อมูลจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เอ๊กซ์เรย์ . . . → Read More: ข้อจำกัดของการแพทย์ (1)