คุยกันก่อนอ่าน บันทึกในความเป็นแพทย์

บันทึกในความเป็นแพทย์นี้ นับว่าเป็นเพียงความเห็นหรือมุมมองส่วนตัวของผมที่เกี่ยวกับวิชาชีพนี้เท่านั้น ผมพยายามจะสะท้อนมุมมองของผมออกมาอย่างซื่อๆ และตรงไปตรงมาที่สุด ผมเชื่อว่าหลายๆคนอาจเห็นด้วยกับผมและในเวลาเดียวกันอาจมีอีกหลายคนไม่เห็นด้วยนัก ซึ่งก็ไม่มีปัญหาครับ ทุกคนมีมุมมองที่ต่างกันได้ แม้แต่ในคนๆเดียวกันในแต่ละช่วงเวลาและอยู่ในคนละบริบทก็ยังอาจมีมุมมองที่เปลี่ยนไปได้เลย และอย่างที่บอก website นี้ทั้ง web เป็น (แค่) บันทึกของหมอคนหนึ่งเท่านั้น

จริงๆผมไม่ได้เป็นคนที่ชอบเปิดเผยตัวเองเลย แต่ในการเขียน website หรือ blog ต่างๆ ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งแน่นอนจะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและคนที่ไม่เห็นด้วย รวมทั้งสุ่มเสี่ยงต่อการถูกเข้าใจผิดหรือการตีความต่างๆนานา ดังนั้นเพื่อความสบายใจนะครับ ขอให้ท่านผู้อ่านถือว่าทั้งหมดใน website นี้เป็น (แค่) บันทึกของหมอคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย

ถ้าท่านผู้อ่านจะได้ความสุขหรือได้ประโยชน์กลับไปบ้าง ผมจะยินดีและดีใจมาก แต่ถ้าท่านผู้ใดรู้สึกขัดข้อง รู้สึกกระทบ หรือไม่สบายใจ . . . → Read More: คุยกันก่อนอ่าน บันทึกในความเป็นแพทย์

กระแส specialist กับแพทย์ชนบท

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันการแพทย์ในประเทศไทย มุ่งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีค่อนข้างมาก และเน้นความเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค โดยมีการแบ่งสาขาของแพทย์ออกเป็นสาขาย่อยๆมากมาย และยังมีอนุสาขาอีกต่างหาก ซึ่งเป็นการเดินตามวัฒนธรรมตะวันตก สังคมไทยเองก็รู้สึกชื่นชอบกับลักษณะดังกล่าวโดยเฉพาะในสังคมเมือง ดังจะเห็นได้จากชาวบ้านในเมือง เมื่อเจ็บป่วยก็จะมุ่งเน้นหาหมอเฉพาะโรค เช่นรู้สึกปวดหัวก็จะไปให้หมอที่ชำนาญด้านโรคสมองโรคประสาทดู ปวดเข่าก็ต้องไปให้หมอกระดูกดู ในต่างจังหวัดเองก็เช่นกัน ถ้าชาวบ้านมีทางเลือก เชื่อได้เลยว่าเขาต้องเลือกไปหาหมอเฉพาะทางก่อนแน่             

สาเหตุของค่านิยมดังกล่าว มาจากกระแสทุนนิยม และบริโภคนิยม โดยถือเรื่องวัตถุเป็นหลัก เนื่องจากในสมัยก่อนหมอเฉพาะทางจะอยู่ในเมืองเท่านั้น และจะอยู่ในโรงพยาบาลที่ใหญ่หรืออยู่ในโรงเรียนแพทย์ ซึ่งมีบุคลากร เครื่องไม้เครื่องมือพร้อมสรรพ ชาวบ้านพอมาโรงพยาบาลได้เห็นตึกใหญ่ๆ มีเจ้าหน้าที่มากมายเดินกันให้ขวักไขว่ ต้องไปห้องโน้นทีห้องนี้ที ไปเจาะเลือด x-ray ฯลฯ ชาวบ้านจะเชื่อถือไปกว่าครึ่งแล้ว ตรงกันข้ามกับหมอในโรงพยาบาลเล็กๆ ซึ่งมีตึกเก่าๆ ดุซอมซ่อ ไม่มีการแบ่งเป็นแผนกต่างๆ ห้องยา ห้องเจาะเลือด ห้องเอ๊กซเรย์ดูเล็กๆไม่น่าเชื่อถือ ชาวบ้านก็ไม่ศรัทธา ต่อมาเมื่อการแพทย์ก้าวหน้ากระจายไปถึงขนาดมีโรงพยาบาลใหญ่ในทุกๆจังหวัด และมีโรงพยาบาลอำเภอทุกอำเภอ ถนนหนทาง การคมนาคมดีขึ้น ชาวบ้านเริ่มมีทางเลือกมากขึ้น บางคนเป็นหวัดนิดหน่อย ก็อุตสาห์เหมารถเข้าไปรักษาในตัวจังหวัด ทั้งๆที่อาจจะรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนหรือแม้แต่สถานีอนามัยก็ได้ การลัดขั้นตอนจึงเกิดขึ้นมากมาย ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากชาวบ้านขาดศรัทธาในหมอโรงพยาบาลเล็กๆนั่นเอง

แต่ถ้าพิจารณาดีๆแล้วที่ชาวบ้านไม่ศรัทธาในหมอในโรงพยาบาลเล็กๆ ส่วนใหญ่เนื่องจากสภาพภายนอกของโรงพยาบาลมากกว่าไม่เกี่ยวกับตัวบุคคลเท่าไร ชาวบ้านเขาไม่รู้หรอกว่าหมอที่นั่งอยู่หน้าเขา เป็นหมอที่เก่งแค่ไหน มีความรู้ความชำนาญแค่ไหน รู้แต่เพียงว่า หมอโรงพยาบาลเล็กๆก็คงสู้หมอโรงพยาบาลใหญ่ๆไม่ได้ และหมอโรงพยาบาลของรัฐก็สู้หมอรพ.เอกชนไม่ได้ ไม่เชื่อลองให้อาจารย์โรงเรียนแพทย์เลยก็ได้ ไปนั่งตรวจคนไข้ที่สถานีอนามัยสัก 1 . . . → Read More: กระแส specialist กับแพทย์ชนบท

กฏหมายใหม่กับการชันสูตร

 เรื่องกฎหมายใหม่กับการชันสูตรพลิกศพ เป็นเรื่องที่พูดกันมากในระยะหลังๆ เนื่องจากในสมัยก่อน ปกติแล้วถ้ามีคนตายผิดธรรมชาติ ไม่ว่าในกรณีใดๆก็ตาม ตำรวจจะเป็นผู้นำส่งศพมาให้แพทย์ตรวจที่โรงพยาบาลเอง แต่ในกฎหมายใหม่ที่เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อ มิย.43 นี่เอง เป็นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งหลักการคือ จะพิทักษ์สิทธิของประชาชนให้มากขึ้น มีการคานอำนาจของพนักงานสอบสวน โดยจะมีการบังคับให้แพทย์ต้องไปชันสูตรณ.ที่เกิดเหตุ ซึ่งจะทำให้แพทย์มีความลำบากขึ้นมาก โดยเฉพาะแพทย์ในโรงพยาบาลเล็กๆ

             กฎหมายใหม่ระบุให้แพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางนิติเวชวิทยา เป็นแพทย์ลำดับแรกที่จะต้องออกไปชันสูตร และถ้าไม่มีแพทย์นิติเวช ให้แพทย์โรงพยาบาลรัฐในท้องที่นั้นๆออกไปทำหน้าที่แทน และถ้าไม่มีอีก ลำดับถัดไปคือแพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ในท้องที่ของน้องจะไม่มีแพทย์นิติเวชอยู่แล้ว ดังนั้นแพทย์ที่ต้องไปชันสูตรก็คือพวกแพทย์ที่อยู่ตามโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งหมายความรวมถึงโรงพยาบาลชุมชนที่น้องๆทำงานอยู่ด้วยนะ ดังนั้นเมื่อมีคดีเกิดขึ้น หรือมีการพบคนตายเกิดขึ้น ทางตำรวจมักจะแจ้งมาที่โรงพยาบาล ซึ่งถ้าเป็นนอกเวลาราชการ แพทย์เวรจะเป็นผู้รับผิดชอบงานทุกอย่างอยู่แล้ว ถ้าเกิดมีการแจ้งมาจริงและบังเอิญน้องเป็นเวรพอดี ก็ถือว่าโชคไม่ดีไป ตำรวจมักจะอ้างกฎหมายใหม่และเร่งรัดให้หมอออกไปตรวจด้วย แต่การไปกับตำรวจในที่เกิดเหตุ น้องต้องทิ้งงานที่โรงพยาบาลไป ไปนานเท่าไรก็ไม่รู้ ถ้ามีคนไข้ฉุกเฉินมาโรงพยาบาลล่ะ ใครจะรับผิดชอบ หลายๆประเด็นเหล่านี้เป็นความยากลำบากของหมอในรพช.มาก นอกจากนี้เรื่องความปลอดภัยของหมอล่ะ ใครจะรับผิดชอบได้ ยิ่งถ้าเป็นหมอผู้หญิงด้วยแล้ว ไปแต่กับตำรวจที่มีแต่ผู้ชาย ก็คงลำบากใจไม่น้อย และในที่เกิดเหตุก็ไม่แน่ว่าจะมีอันตรายอะไรหรือเปล่า เช่นเป็นคดีฆ่ากันตายหลายศพ หมอต้องเข้าไปเสี่ยงไปดูศพเองหรือ ไม่รู้จะมีใครซุ่มอยู่หรือเปล่า เป็นฝ่ายไหนก็ไม่รู้

            ทางแพทย์กลุ่มหนึ่งจึงมีการรวมตัวกันร้องเรียนไปยังแพทยสภาและระดับกระทรวง ขอให้ชะลอการบังคับใช้ไปก่อน และแก้ไขให้เหมาะสมในสภาพการณ์จริง ซึ่งผลการร้องเรียนยังไม่ทราบ คงต้องติดตามต่อไป พี่เห็นด้วยนะว่ามันต้องแก้กฎหมาย ออกกฏมาแบบนี้สร้างความลำบากให้แพทย์มาก . . . → Read More: กฏหมายใหม่กับการชันสูตร