คำสอนจากอาจารย์แพทย์ (2)

ผมยังจำได้ดีถึงคำสอนอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งได้ยินตอนผ่านสูติศาสตร์ มีอาจารย์ท่านหนึ่งท่านพูดสอนไว้ ซึ่งผมประทับใจมาก และนำไปสอนต่ออยู่บ่อยๆ ท่านเน้นว่าการเรียนแพทย์ให้ได้ดีนั้น คือต้องใส่ใจ ช่างสังเกตุ หัดตั้งคำถาม และพยายามหาคำตอบด้วยตัวเองเสมออย่าปล่อยให้มันผ่านมาแล้วผ่านไป โดยไม่ได้เรียนรู้อะไร

ท่านเปรียบนักศึกษาแพทย์พวกเราว่า เมื่อเราเรียนหนังสือ ก็เหมือนกับพวกเราไปนั่งอยู่ในสวนแห่งหนึ่ง มองท้องฟ้า ดูนกที่กำลังบินไปบินมา นักศึกษาแพทย์บางคนก็เริ่มสนใจ ช่างสังเกตุ และพยายามเรียนรู้ว่า หน้าตา รูปร่าง ลักษณะของนกที่บินมามันเป็นอย่างไร วันเวลาผ่านไปเขาก็เรียนรู้ขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เริ่มรู้ว่านกที่บินมาชื่ออะไร มีรูปร่างลักษณะอย่างไร บินมาเดี่ยวๆหรือเป็นคู่ หรือมาทั้งฝูง ตัวไหนตัวผู้ตัวไหนตัวเมีย ในไม่ช้าไม่นาน เขาก็เป็นผู้เชียวชาญเรื่องนกขึ้นมาได้ แต่นักศึกษาแพทย์บางคนนั่งดูนกเหมือนกันแต่ไม่ได้สนใจอะไร เห็นมันบินผ่านมาแล้วผ่านไปทุกวัน ก็รู้แค่ว่า นั่นก็นก นี่ก็นก ไม่เห็นจะมีอะไร เมื่อเรียนจบเขาก็ไม่รู้อะไรเพิ่มขึ้นเลย

นักศึกษาแพทย์ก็เหมือนกันครับ เวลาขึ้น ward ใหม่ๆ ยังซักประวัติ ตรวจร่างกายไม่เก่งนัก ก็ต้องฝึกฝน ค่อยๆเรียนรู้กันไป และเรียนรู้อาการหรือโรคไปทีละ 1-2 อย่าง ข้อสำคัญคือ อย่าเรียนแบบผ่านๆ ไม่ใช่ว่าเจอคนไข้ปวดท้องที่ OPD หลายๆ case ก็ไม่ได้สนใจอะไร คิดว่า นี่ก็คนไข้ปวดท้อง นั่นก็คนไข้ปวดท้องอีกแล้ว . . . → Read More: คำสอนจากอาจารย์แพทย์ (2)

คนไข้คือคนไข้ ไม่ใช่ผู้มารับบริการ

ไม่รู้สิครับ เวลาผมได้ยินใครเอ่ยถึงคนไข้ หรือญาติคนไข้ว่าเป็นผู้รับบริการผมจะรู้สึกขัดๆอยู่เสมอ แต่ในบางที่คงเห็นเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะในกระแสสังคมปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมทุนนิยม และมีการแข่งขันกันในด้านการตลาดเยอะมาก ลูกค้าหรือผู้มารับบริการต้องมาก่อน ซึ่งถ้าใครสังเกตในหลักการบริหารยุคใหม่ จะเน้นเรื่องนี้ทั้งนั้น โดยจะมีคำพูดสวยหรูเกี่ยวกับการบริการอยู่มากมาย  บอกว่า ต้องเอาผู้มารับบริการเป็นศูนย์กลาง และทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด หรือบริการให้มากกว่าที่คาดหวัง หรือบางทีก็ใช้พูดเป็นภาษาอังกฤษเลย เช่นบอกว่า เราต้องมี customer focus นะ หรือเราต้องให้ความสำคัญด้าน Service Mind หรือปีนี้เราต้องมุ่งเน้นด้าน CRM (Customer relationship management) เพื่อรักษาฐานลูกค้า  ฯลฯ

หลายๆคนคงเคยได้ยินคำนี้จนเป็นที่ชินหู ผู้บริหารโรงพยาบาลหลายๆคนก็คงเคยเข้าไปเรียนหลักสูตรบริหารมากมาย และนำหลักการต่างๆเหล่านี้มาใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งหลายๆท่านก็นำมาประยุกต์ใช้ได้ดี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในโรงพยาบาล ผู้ป่วยและญาติได้รับในสิ่งที่ดีๆ แต่ก็มีหลายๆโรงพยาบาลนำหลักการเรื่องนี้ไปใช้อย่างเข้มข้น กลายเป็นการตามใจคนไข้/ญาติ มากเกินไป จนบางครั้งกลับมากดดันผู้ให้บริการ ซึ่งผู้ให้บริการก็ลำบากใจและไม่มีความสุข

ตรงนี้ผมขออนุญาตตั้งข้อสังเกต และอยากให้ลองคิดว่า การนำหลักการหรือ concept เรื่องการให้บริการมาใช้กับการแพทย์และสาธารณสุขนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม จริงหรือ

ผมมีความเชื่อ (ซึ่งหลายคนมองว่าสุดโต่งและตกยุคไปแล้ว) ว่าวิชาชีพแพทย์ไม่ใช่อาชีพบริการ เราไม่ควรเรียกคนไข้หรือญาติว่าผู้มารับบริการ เราควรเรียกคนไข้ว่าคนไข้ และแพทย์มีหน้าที่รักษาคนไข้ ด้วยจิตที่เมตตา ไม่หวังผลตอบแทน และรักษาคนไข้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แพทย์ต้องมีจรรยาบรรณ ผมคิดเสมอว่าการเรียกคนไข้ว่าผู้มารับบริการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้หายไป . . . → Read More: คนไข้คือคนไข้ ไม่ใช่ผู้มารับบริการ

Medicine: The Forgotten Art?

สมัยตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ ผมเคยอ่านหนังสือชื่อ Medicine: The Forgotten Art? ของ C. Elliott Binn แล้วรู้สึกชอบมากในหลายช่วง หลายๆตอน เลยจดลงสมุดบันทึกไว้อ่านดู น่าเสียดายว่าไม่รู้ว่าผมไปทิ้งหนังสือไว้ที่ไหน ยังหาไม่เจอ และจำไม่ได้ด้วยว่าเนื้อหาในนั้นทั้งเล่มเป็นอย่างไร แต่รู้สึกชอบและถูกใจหลายตอนไว้ถ้าเจอเมื่อไรตั้งใจจะอ่านอีกรอบ

บางบทบางตอนจากหนังสือนี้ครับ

Medicine are not the answers

Medicines are not the answers to most illnesses, physical or psychological. The doctor’s way of giving (or not giving) a medicine is often as important as the medicine itself.

Face of the Patient

. . . → Read More: Medicine: The Forgotten Art?