ธรรมะแห่งอาชีพ

ธรรมะแห่งอาชีพดูจะเป็นคำที่ดูหรูไปสักหน่อย และชวนให้เรานึกถึงคุณธรรม/คุณสมบัติที่พึงมีในอาชีพบางอาชีพ เช่น แพทย์ควรจะมีจรรยาแพทย์ ครูก็ควรมีจรรยาหรือคุณธรรมในความเป็นครู ผู้พิพากษาก็ควรมีธรรมะโดยเฉพาะในเรื่องความยุติธรรม ฯลฯ แต่ถ้าคิดดูให้กว้างกว่านั้น ผมเชื่อนะครับว่า ทุกอาชีพควรจะต้องมีธรรมะแห่งอาชีพนั้นๆ  อย่างน้อยที่สุดก็ต้องซื่อตรงต่ออาชีพนั้นๆ ของตนเอง

สังคมในปัจจุบัน มนุษย์เราต้องพึ่งพาอาศัยกัน ไม่มีใครสามารถอยู่คนเดียวได้ เราต้องมีการติดต่อและพึ่งอาชีพอื่นๆมากมายในทุกๆวัน เช่น เราไปหาซื้ออะไรกินในตอนเที่ยง เราก็ต้องพึ่งพ่อค้าแม่ค้า เรานั่ง taxi กลับบ้าน ก็ต้องพึ่งคนขับรถ taxi ฯลฯ เราก็คงหวังให้พ่อค้าแม่ค้าไม่โกงเรา ขายของที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม ในทำนองเดียวกับ taxi เราก็คงหวังให้คนขับ ขับไปให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย ไม่ใช่ขับอ้อมไปอ้อมมา โกงมิเตอร์ หรือมีลูกเล่นต่างๆ  ถ้าทุกอาชีพมีคุณธรรมแห่งตนเราคงสบายใจมากขึ้นในการทำอะไร แต่สองตัวอย่างข้างต้นเป็นตัวอย่างที่ง่ายไม่ซับซ้อน เพราะเรามีความคุณเคยกับสินค้าหรือบริการนั้นๆอยู่แล้ว ถ้ามีอะไรผิดปกติหรือมีการโกงกันเกิดขึ้นเราจะรู้โดยไม่ยากเย็น

แต่ถ้าอาชีพอื่นๆที่อาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะล่ะครับ เราในฐานะคนนอกจะไม่มีทางรู้ได้เลย เช่นเวลารถเราเสียด้วยเหตุอะไรก็ตาม เรารู้แค่ว่ารถเครื่องมีปัญหา หรือแอร์ไม่เย็น หรือมีเสียงผิดปกติ สิ่งที่เราทำได้ก็คือเอารถไปเข้าอู่ เพื่อซ่อม ซึ่งช่างซ่อมรถจะเป็นผู้ช่วยเราในการวิเคราะห์ปัญหาและซ่อมรถ ซึ่งเขาต้องรู้มากกว่าเราอย่างแน่นอน ตรงนี้ก็สำคัญครับ จะเป็นอย่างไรถ้าช่างซ่อมรถไม่มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ของที่ยังไม่เสีย ก็บอกว่าเสีย หรือจริงๆซ่อมง่ายๆก็ทำให้ดูเป็นซ่อมยากๆไว้ จะได้เงินเยอะๆ เราก็ลำบากใช่ไหมครับ

สมัยก่อนผมยังจำได้ มีหลายครั้งเวลาไปธนาคาร จะเห็นพนักงานธนาคารแนะนำคุณลุงคุณป้าแก่ๆที่มาขอเปิดบัญชี ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร มีความจริงใจว่า บัญชีไหมเหมาะกับคุณลุงคุณป้ามากกว่ากัน ฝากประจำกี่เดือนดี . . . → Read More: ธรรมะแห่งอาชีพ

ปิดทองหลังพระ (2)

พอดีได้เจอพระราชดำรัสเรื่องปิดทองหลังพระ และมีการอัญเชิญไปทำเป็น clip . . . → Read More: ปิดทองหลังพระ (2)

ปิดทองหลังพระ

วันหนึ่ง นายจำนงค์เดินเข้ามาหาผมพร้อมกับเริ่มบ่นให้ฟังว่า

“พี่หมอ ผมไม่ไหวแล้วนะ ทุ่มเทกับการทำงานมากขนาดนี้ ทำโดยไม่มีวันหยุด แต่เหมือนไม่มีใครเห็น เจ้านายก็ไม่ขึ้นเงินเดือน ไม่เลื่อนขั้นให้ ทำไงดีพี่”

ผมรู้จักนายจำนงค์มานาน ทำให้รู้สึกแปลกใจมาก  เพราะปกติแล้วนายจำนงค์จัดว่าเป็นคนดีคนหนึ่งทีเดียว แกรับผิดชอบหน้าที่หลายอย่าง ไม่ว่าด้านการเงิน การบริหาร งานพัสดุ ฯลฯ ซึ่งแกทำได้ดีมาก และเท่าที่รู้แกมีความสุขในการทำงานมาก ทำโดยไม่หวังผลตอบแทน อย่างเวลาแกทำบุญ ใส่ซองผ้าป่าก็ไม่เคยคิดจะใส่ชื่อแกไปติดที่นั่นที่นี่ หรือทำความดีอะไรก็ไม่เห็นจะคาดหวังอะไรเลย ทำไมมาคาดหวังกับการเลื่อนขั้นเลื่อนเงินเดือน ซึ่งฟังดูแล้วแปลกๆ

“ไหนลองเล่าให้ฟังสิว่าเกิดอะไรขึ้น”

“พี่หมอก็รู้ ผมทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีอะไรก็ทุ่มเทให้ตลอด ไม่เคยคิดคดโกงใคร ไม่มีนอกไม่มีในกับใครทั้งนั้น ผลประโยชน์ขององค์กรผมก็พิทักษ์ให้เต็มที่ ไม่เคยเอาของของใครมาเป็นของของตน ไม่เคยแม้แต่จะคิด”

ผมพยักหน้าช้าๆ เพราะรู้ว่าเขาทำอย่างที่พูดจริงๆ

“ทุกวันที่ยังทำงานที่นี้ ก็เพราะได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบ และรู้สึกเหมือนกับได้ทำความดี ได้ทำบุญทุกวัน” แกพูดถึงองค์กรของเราซึ่งเป็นองค์กรที่ทำประโยชน์ให้ผู้อื่น โดยไม่แสวงหากำไร

“ก็ดีแล้วนี่ จำนงค์ก็ทำดีแล้ว มากลุ้มใจทำไม”

“โถพี่หมอ เรื่องเงินเดือนนะสิ ไม่เห็นขึ้นให้บ้างเลย ไม่ได้เลื่อนขั้นมานานแล้ว ผมน่ะกินเงินเดือนอย่างเดียว ไม่เคยกินคอมมิชชั่น กินหัวคิว คอรัปชั่น เลย แต่เงินเดือนเท่านี้ ลูกเมียผมก็อยู่ได้ลำบาก ความดีน่ะกินไม่ได้นะพี่หมอ”

ผมพยักหน้าช้าๆด้วยความเข้าใจ และเห็นใจ

“จำนงค์กำลังปิดทองหลังพระอยู่รู้ไหม พี่เองก็เคยรู้สึกเหมือนที่จำนงค์รู้สึกอยู่ บางครั้งรู้สึกเหมือนว่าโลกไม่เป็นธรรมกับเรา ทำดีแล้วไม่มีใครเห็น แต่เชื่อพี่เถอะว่า ทำความดีแล้วต้องได้รับผลดี และจงทำต่อไป”

แล้วเราก็คุยกันต่อในเรื่องนี้ ผมรู้ว่าจำนงค์ต้องการแค่บ่นหรือต้องการที่ระบายเท่านั้น เพราะแกเป็นคนหนักแน่นพอในศีลธรรม . . . → Read More: ปิดทองหลังพระ